วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การตีมูลค่าสินค้าคงคลัง Inventory Model

การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ มีอยู่ด้วยหัน หลายวิธี เช่น FIFO, LIFO, Standard cost, AVG ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง คราวนี้เราจะมาดูวิธีการตีมูลค่าสินค้าคงคลังบนระบบ AX กันบ้างว่ามีกี่แบบ

วิธีแรกสุดคือ FIFO หมายถึงการตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีซื้อก่อนขายก่อน (First-In , First – Out)   วิธีนี้เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ได้กับการบันทึกสินค้าทั้งแบบ Periodic Inventory Method และ Perpetual Inventory Method โดยถือว่าสินค้าที่ซื้อ/ผลิตเข้ามาก่อนจะถูกนำออกไปขายก่อน คราวนี้หลายที่ๆเคยมาปรึกษาผมว่า กระบวนการเบิกสินค้าของเค้าไม่สามารถจะหยิบของ lot เก่าๆก่อนได้เสมอไป จะทำอย่างไร? สำหรับผมมองว่ากระบวนการหยิบของจริงๆ กับ การตัดมูลค่าทางบัญชีจริงๆแล้วโดยระบบเป็นคนละส่วนกัน ดังนั้นถ้าคุณกำหนดให้ระบบคำนวณแบบ FIFO แม้ว่าคุณจะหยิบสินค้า lot ไหนไปขายก็ตาม ระบบจะไปดึงต้นทุนตามรายการรับเข้าอยู่ดี ตามตัวอย่างข้างล่างนะครับ


วิธีต่อมา Weighted Avg. หมายถึงการตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Method)   วิธีนี้ก็เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอีกวิธีหนึ่ง ใช้กับการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method เนื่องจากต้องรอปิดงวดบัญชีแล้วจึงนำรายการรับเข้ามาถั่วเฉลี่ยต้นทุนกับจำนวนมาเป็นต้นทุนขาย


ต้นทุนเฉลี่ย = (450+100+240+420+160)/(30+10+20+30+10)
                    = 1370/100
                    = 13.70


วิธีที่สาม Weighted Avg. date หมายถึงการตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Method Method)   วิธีนี้ก็เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน  ใช้ได้กับการบันทึกสินค้าทั้งแบบ Periodic Inventory Method และ Perpetual Inventory Method โดยระบบจะทำการเฉลี่ยต้นทุนเฉพาะสินค้าที่รับเข้ามาใหม่และสินค้าที่มีอยู่ก่อน


ต้นทุนเฉลี่ย = (450+100+240+420)/(30+10+20+30)
                    = 1210/90
                    = 13.44


วิธีที่4 Standard cost หมายถึงการตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยต้นทุนมาตราฐาน วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับตามมาตราฐานการตีมูลค่าสินค้าคงเหลือในประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงก็เคยเจอบริษัทที่ใช้วิธีนี้อยู่เหมือนกัน แต่บางที่ก็ไม่ใช่เป็น Standard Cost แบบเดียวกับระบบซะทีเดียว คือ เวลาใช้ราคาต้นทุนแบบ Standard cost เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงราคาต้นทุนใหม่ จะทำให้มูลค่าสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ปรับราคาตามต้นทุนใหม่ แต่สำหรับในประเทศไทย เท่าที่เห็นจะใช้วิธีแบบ Standard cost สำหรับประมาณต้นทุนสินค้าของปีนั้น ซึ่งจะไม่มีผลต่อมูลค่าสินค้าคงเหลือในสต๊อกปัจจุบัน ซึ่งระบบ AX ก็สามารถทำการตีมูลค่าสินค้าแบบนี้ได้นะครับ แต่จะต้องทำการกำหนด Inventory model group อีกวิธีนึง

วิธีสุดท้าย Specific Identification Method การตีราคาสินค้าคงเหลือวิธีราคาทุนที่แท้จริงสามารถใช้ได้ทั้งกับการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method และ Perpetual Inventory Method วิธีนี้ไม่มีให้เลือกใน Inventory model group แต่จะต้องทำการกำหนดที่ Dimension group แทน

สำหรับวิธีการประเมินต้นทุนหลักๆที่ผมเคยใช้อยู่ก็มีประมาณนี้แหละครับ อาจจะมีแตกต่างกันไปในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทางผู้ขึ้นระบบต้องเก็บรายละเอียดให้เข้าใจอย่างถูกต้องก่อน ถึงจะสามารถกำหนดให้สอดคล้องธุรกิจนั้นๆได้ สำหรับวิธีการตีราคาแบบ LIFO และ LIFO date ผมยังไม่เคยเจอธุรกิจที่ใช้วิธีการตีมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีนะครับ แต่โดยหลักการแล้ววิธี LIFO ก็จะคล้ายกับ FIFO เพียงแต่ใช้ต้นทุนล่าสุดแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น